ผมลองทำโปรแกรม เช็คสินค้า แบบระบุตำแหน่ง
กระทู้เก่าบอร์ด อ.Yeadram

 1,651   6
URL.หัวข้อ / URL
ผมลองทำโปรแกรม เช็คสินค้า แบบระบุตำแหน่ง



คือคลังสินค้าผมเป็นแบบ โล่งๆ ครับ
จะเก็บสินค้าเป็นแถว หลายแถวมากครับ
แถวหนึ่งวางสินค้าได้ 9 พาเลท และสามารถซ้อนกันได้ สองหรือสามชั้น
สินค้าแต่ละพาเลท จะมีเลขที่พาเลทกำกับ
เลยอยากลองระบุตำแหน่งสินค้า เพื่อสะดวกในการค้นหาครับ
โดยกำหนดแถวสินค้า เป็น A คือแถว 1 คือ ลำดับพาเลท 1 คือ ชั้นที่
เช่น สินค้า พาเลทเลขที่ 1151-002 วางไว้ที่ ตำแหน่ง B32 คือ แถว B ลำดับที่ 3 ซ้อนชั้นที่ 2 เป็นต้น
ปัญหาอยู่ที่ เวลารื้อสินค้าด้านหน้าแถว ต้องรื้อพาเลทหน้าออกหมด แล้วค่อยเอากลับเข้าไปใหม่ ต้องแก้ตำแหน่งใหม่ทุกครั้ง
มี อ.ท่านใดเคยทำโปรแกรมประมาณนี้ ขอคำปรึกษาหน่อยครับ

6 Reply in this Topic. Dispaly 1 pages and you are on page number 1

1 @R12632
ไม่เคยทำหรอกครับ แต่อยากออกความเห็นว่า ปัญหาอย่างนี้เกิดเพราะเราไปผูกมันไว้กับสิ่งที่ไม่คงที่ ในที่นี้ก็คือ B32 การแก้ไขก็ทำโดยเราก็ผูกมันไว้กับสิ่งที่คงที่ก็พอ เช่น ไม่ว่าจะจัด/หยิบสินค้ายังไง สินค้า 1151-002 ก็หนีไม่พ้นแถว B แน่นอน ก็ระบุตำแหน่งแค่ แถว B ก็พอ หรือว่าถ้ามันยังไงก็ไม่เปลี่ยนแปลงลำดับที่ด้วย ก็ผูกกับ B3 ก็จะละเอียดขึ้น ส่วนชั้นที่นั้นสมมติว่าเปลี่ยนแปลงไปบ่อยๆ ก็ไม่ต้องระบุครับ แต่ระบุเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่ชั้นแทน เช่น อยู่ในพาเลทสีฟ้า ส่วนสีฟ้าจะไปอยู่ชั้นไหนก็เรื่องของมัน (อาจเปลี่ยนสีฟ้าเป็นอักษร ก., ข. หรือเลข 1, 2 อย่างนี้ก็ได้ แล้วเอาป้ายแปะไว้ว่านี่คือพาเลท ก., ข., 1, 2) เวลา จนท.ไปหาก็หาที่สีฟ้าแทนแล้วกัน อย่างนี้เราก็ไม่ต้องมานั่งเปลี่ยนตำแหน่งในระบบคอมพิวเตอร์เราบ่อยๆ

หวังว่าคงพอใช้แก้ปัญหาได้
2 @R12633
เีรียน อ.สันติสุข
เนื่องจากเวลาที่เราย้ายสินค้าออกจากแถวจะเก็บไว้ในพื้นที่ อีกที่หนึ่่ง หลังจากหาสินค้าที่จะส่งให้ลูกค้าครบแล้ว ค่อยนำสินค้าเก็บเข้าที่ พาเลทที่ถูกรื้อออกมาจึงไ่ม่ได้อยู่ในแถวเิดิม จากแถว A อาจถูกย้ายไปเก็บที่แถว Z ก็ได้ัครับ
ความคิดผมว่าจะออกแบบฟอร์มมาอันหนึ่งให้เหมือน WH แล้วสร้าง Textbox แทน พาเลท ชื่อ textbox แทนตำแหน่ง แล้วสร้าง Tbl เก็บข้อมูล เลขที่พาเลท กับ ตำแหน่ง
แล้วเอา notebook ติดไว้ที่รถยกให้ จนท.บันทึกข้อมูล
ตอนนี้ผมลองออกแบบฟอร์มบ้างแล้วครับ
ถ้าติดปัญหำอะไรคงจะได้ถามอาจารย์อีกน่ะครับ
3 @R12634
ถ้าต้องการอัพเดตสถานะให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด ตอนขนพาเลทออกมาวางที่ตำแหน่งใหม่ ก็ควรให้ จนท. ป้อนเลขพาเลท และคลิกปุ่มอะไรบนหน้าจอสักปุ่มเพื่อระบุสถานะว่า กำลังเคลื่อนย้ายออกมา และถ้าสามารถระบุพื้นที่ชั่วคราวที่ขนย้ายออกมาจากแถวเดิมได้ก็จะยิ่งดี พอนำเข้าเก็บพื้นที่ใหม่ ก็ป้อนอีกทีและเคลียร์สถานะการเคลื่อนย้ายออกไปด้วย

ส่วน notebook ก็คงใช้ wireless เชื่อมต่อไปยังฐานข้อมูลที่อยู่บนเซิฟเวอร์อีกที คงต้องติด Access Point (ตัวรับสัญญาณ wireless) ให้ครอบคลุมพื้นที่ใช้งานด้วย แต่เรื่องการใช้ Microsoft Access กับระบบ Wireless นั้น ผมไม่มั่นใจว่าจะเกิดปัญหาอะไรหรือไม่ถ้าชั่วขณะนึงมันไม่สามารถติดต่อกับฐานข้อมูลได้ เพราะกรณีของคุณนี้ notebook จะเคลื่อนที่ไปด้วย มันอาจขาดช่วงได้
4 @R12635
อีกนิดนึง ถ้าพาเลททาสีได้ เราสามารถเชื่อมโยงบางส่วนของเลขพาเลท อาจเป็นหลักสุดท้าย หรือหลักไหนก็ตามที่มันรันเลข 0-9 ได้กระจายๆทั่วถึง เช่น 0=สีขาว 1=สีฟ้า 2=สีเขียว ฯ เพื่อว่าเมื่อระบบคอมพิวเตอร์เกิดปัญหาไม่สามารถใช้งานได้ หรือไฟดับ หรือตำแหน่งที่ป้อนนั้นผิดไป อย่างน้อยพนักงานก็จะได้วิ่งหาจากสีของพาเลทก่อน ซึ่งลดจำนวนการค้นหาไปได้ถึง 10 เท่า (ถ้าคุณมี 10 สี) จากนั้นค่อยดูที่เลขพาเลทที่แปะไว้กับตัวพาเลทอีกที แต่ถ้าพาเลทบนชั้น 3 อ่านเลขพาเลทได้ยาก สีของพาเลทควรต้องมีเพิ่มเป็นพาเลทนึงมีหลายสี สีแรกอาจเป็นหลักไหนสักหลัก สีที่สองก็เป็นอีกหลักนึง คล้ายๆกับวิธีที่ตัวต้านทาน (resister) ในวงจรอิเลคโทรนิคใช้บอกว่าตัวมันมีความต้านทานกี่โอมม์ ก็จะยิ่งช่วยลดการค้นหาด้วยสายตาลงไปได้อีก ... บางทีการออกแบบระบบเราต้องคำนึงถึงระบบแมนวลเอาไว้ด้วย

อีกส่วนที่ถ้าทำเพิ่มได้ ก็จะช่วยป้องกันการป้อนเลขพาเลทผิด นั่นก็คือสร้าง check digit เพิ่มมาในหลักสุดท้ายของพาเลทด้วยครับ
5 @R12636
ขอบคุณครับอาจารย์สันติสุข
เดียวผมจะลองทำไปเรื่อยๆครับ
เรื่องพาเลท เนื่องจากเราส่งพาเลทไปกับตัวสินค้าด้วยจึงไม่อยากไปยุ่งกับลูกค้าครับ และต้องไปกำหนดกฏเกณฑ์ให้แผนกอื่นด้วย คงไม่สะดวกในการทำงานแต่เดียวยังไงจะลองปรึกษาผู้ใหญ่ดูครับ
6 @R12670
ถ้าพอจะมีงบประมาณ แนะนำให้ใช้ RFID ครับ ตอนติดกับ พาเลท ก็บันทึกไว้ว่า RFID นี้ติดกับ สินค้าอะไร ทีนี้จะอยู่ตรงไหน อยากรู้ก็เช็คสัญญาณเอา พอตอนส่ง หรือส่งแล้ว ก็ถอดออกมาใช่้ได้อีก
@ ประกาศใช้งานเว็บบอร์ดใหม่ => บอร์ดเรียนรู้ Access สำหรับคนไทย
แล้วจะใส่ลิ้งอ้างอิงมาที่โพสต์เก่านี้หรือไม่ก็ตามสะดวกครับ
Time: 0.1948s