สูตรคำนวณดอกเบี้ย
กระทู้เก่าบอร์ด อ.Yeadram

 17,666   13
URL.หัวข้อ / URL
สูตรคำนวณดอกเบี้ย

เวลาเราไปกู้เงิน เราก็จะถามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ แล้วก็ถามว่าจะส่งต่อเดือนเท่าไหร่ จนท.ก็จะตอบได้ แต่เราถามว่า ถ้าส่งเท่านี้ จะเสียดอกทั้งหมดเท่าไหร่ จนท.ตอบไม่ได้
ผมจึงอยาก ทำโปรแกรมคำนวณ กรอกจำนวนเงินกู้ กรอกอัตราดอกเบี้ย กรอกจำนวนงวด ค่ายอดส่งแต่ละเดือน จะออกมาเลย และดอกเบี้ยทั้งหมดออกมาเลย Access ทำได้มั้ยครับ มีแนวทางงัยยัง

13 Reply in this Topic. Dispaly 1 pages and you are on page number 1

1 @R14731
ที่ช่องเท็กซ์บ็อกซ์ [ยอดส่งแต่ละเดือน] และ [ดอกเบี้ยทั้งหมด] ก็กำหนด Control Source ให้เป็น =สูตร   โดยที่ สูตร ก็เป็นการคำนวนค่าที่ต้องการ โดยระบุถึงเท็กซ์บ็อกซ์อื่นๆซึ่งถูกคร่อมอยู่ในฟังก์ชั่น Nz( ) อีกที เช่น Nz([จำนวนเงินกู้],0)
2 @R14732
Access ทำได้อยู่แล้วครับ ปัญหาอยู่ที่สูตรมากกว่า ต้องเข้าใจตรงกันอย่าคิดเองเออเอง งานงอกแน่นๆครับ

ดอกเบี้ยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1) ดอกเบี้ยเชิงเดียว (Simple Interest)

    I = P * r * t

I คือ จำนวนดอกเบี้ย
P คือ เงินต้น
r คือ อัตราดอกเบี้ย เป็นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ดังนั้น การแทนค่าในสูตรจะต้องหารด้วย 100 เสมอ
t คือ ระยะเวลา หน่วยต้องเป็นค่าเดียวกันกับ r

2) ดอกเบี้ยทบต้น (Compound Interest)

    Sn = P(1+i)n

P = เงินต้น
I = อัตราดอกเบี้ยต่องวด
n = จำนวนงวดทั้งหมด
Sn= เงินรวมปลายงวดที่ n

คร่าวๆ จริงๆมันยาว รายละเอียดมากครับ ต้องลองศึกษาดูตามเว็บก็ได้ครับ
3 @R14739
ตอนนี้ผมทำใน Excel อยู่ ปัญหามันก็คือ ต้องทำหลายๆ เรคคอด
ตามจำนวนงวด ถึงจะ Sum จำนวนดอกเบี้ยได้ คำถามผม ประมาณ ว่ามีสูตร
ที่ ทำกันมาแล้วหรือยัง หรือแนวคิด ที่จะทำยังงัย ประมาณนี้ครับ
4 @R14741
ใน Excel มี formula อยู่แล้วครับ เช่น pmt( ) เป็นสูตรหายอดจ่ายรายเดือน ไว้จะมาให้คำตอบอีกทีครับ เนื่องจากตอนนี้ไม่สะดวกเปิดคอมพ์
5 @R14742
ผมเห็นอยู่ครับ อมาจารย์ PMT อ่านในหนังสือเลย แต่
1.ประยุกต์ ไม่เป็น
2.อยากเอามาใช้ใน Access
6 @R14743
ตรวจสอบดูแล้วใน Access ก็มี funtion PMT() ครับ
ผมลองสร้างตารางใน Excel โดยหากใน Access สร้าง control (field) ตาม column A ในตัวอย่างนี้ ให้กำหนด ControlSource ตาม สูตรใน column E ได้เลยครับ
     A     B     C     D     E     
1     Principal     เงินต้น      1,000,000.00           
2     AnnualRate     อัตราดอกเบี้ยต่อปี     5.00%          
3     MonthRate     อัตราดอกเบี้ยต่อเดือน     0.42%     =C2/12     =AnnualRate/12
4     NumberOfPayment     จำนวนเดือน     120          
5     Payment     เงินผ่อนรายเดือน      10,606.55      =PMT(C3,C4,-C1)     =PMT(MonthRate,NumberOfPayment,-Principal)
6     SumPayment     รวมจำนวนเงินผ่อน      1,272,786.18      =C5*C4     =Payment * NumberOfPayment
7     InterestAmount     จำนวนดอกเบี้ย      272,786.18      =C6-C1     =SumPayment - Pricipal
7 @R14744
capture รูปมาให้ดูครับ
8 @R14746
ขอบพระคุณอาจารย์พิชัยมากครับ เดี๋ยวของลองทำดูก่อนครับ
9 @R14751
ลองทำดูแล้ว ต่างจากที่ทำโดยไม่ใช้สูตร อยู่ ประมาณ 3 แสนครับ
สูตรผมคือ เงินต้น*อัตราดอกเบี้ย/จำนวนวันในปีนั้น*จำนวนวัน
จำนวนวันในปีนั้น คือ 365 หรือ 366 ตาม ปีที่มี 29 วัน
จำนวนวันคือ คิดดอกเบี้ยเป็นวัน จากวันที่จ่ายครั้งที่แล้ว
ต้องทำทุกเดือน ซึ่งผมลองทำใน Excel จนครบทุกงวด
ค่าที่ได้ต่างกับ สูตร PMT ใน Excel ไป 3 แสน

วิเคราะห์ดูแล้วว่า PMT มันคำนวนยังงัย อาจารย์พิชัย แนะนำหน่อยครับ
10 @R14753
อ่านแล้วคิดเล่นๆ ว่าคุณบ่อยเงินกู้นอกระบบหรือครับ คิดดอกเบี้ยเป็นวันเลย (ล้อเล่นนะครับ)
ฟังก์ชั่น ไม่ว่าจะใน MS Excel หรือ MS Access เหมือนกันนะครับ เพียงแต่ฟังก์ชั่นทางการเงินใน MS Excel มีหลากหลายฟังก์ชั่นมากกว่าใน MS Access ซึ่งในบางกรณีถ้าใช้ใน MS Access ต้องเขียนสูตรเอง

ส่วนเรื่องที่ถาม ไม่รู้ผมเข้าใจถูกหรือไม่นะครับ และไม่ชำนาญเรื่องการคิดตัวเลขประเภทนี้เลย เอาเป็นอธิบายหลักๆ ให้อ่านดูแล้วกันนะครับ
เท่าที่อ่าน จากสูตร
เงินต้น*อัตราดอกเบี้ย/จำนวนวันในปีนั้น*จำนวนวัน
ฟังก์ชั่นหลักๆที่น่าจะใช้กรณีนี้เท่าที่นึกได้คือ

Pmt() = IPmt() + PPmt()

Pmt() คือ จำนวนเงินต้นรวมกับดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายต่องวด
IPmt() คือ จำนวนดอกเบี้ยอย่างเดียวที่ต้องจ่ายต่องวด
PPmt() คือ จำนวนเงินต้นอย่างเดียวที่ต้องจ่ายต่องวด

(ทั้งหมดคือในอัตราดอกเบี้ยคงที่)

จากสูตรคุณ น่าจะใช้ IPmt()
IPmt ((ดอกเบี้ย / ร้อยละ) / จำนวนงวด, งวดที่ต้องการหาดอกเบี้ย, จำนวนงวด, เงินกู้ทั้งหมด หรือคงเหลือ)

ตัวอย่าง
กู้เงิน 450,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 6.75% ต่อปี คิดดอกเบี้ยเป็นวัน ให้คำนวณหาดอกเบี้ยที่ต้องชำระในแต่ละวัน

วันที่ 1 : IPmt(0.0675 / 365, 1, 365, -450000) = 83.22
วันที่ 2 : IPmt(0.0675 / 365, 2, 365, -450000) = 83
วันที่ 3 : IPmt(0.0675 / 365, 3, 365, -450000) = 82.78
วันที่ 4 : IPmt(0.0675 / 365, 4, 365, -450000) = 82.56

เป็นตัวอย่างประมาณนี้นะครับ ลองศึกษาดูว่าจะใช้ฟังก์ชั่นไหนแล้วได้ตามต้องการ

ปล. เพิ่มเติม ฟังก์ชั่น PPmt รูปแบบก็เหมือนกันกับ IPmt แต่คือ อันนึงหาเงินต้นที่ต้องจ่ายต่องวด อันนึงหาดอกเบี้ยต่องวด เมื่อรวมทั้งสองก็จะได้ค่าเหมือน Pmt คือเงินทั้งหมดที่ต้องจ่ายต่องวด ตามสมการ Pmt() = IPmt() + PPmt() นั่นเอง
11 @R14758
จากตัวอย่างที่ผมทำให้ คิดดอกเป็นรายเดือน ส่งรายเดือน

ถ้าจะคิดดอกรายเดือน แต่ส่งรายวัน เอา PMT ที่ได้จากสูตรนี้หารวันต่อเดือน

ถ้าจะคิดดอกรายวัน ต้องเปลี่ยน row 3 MonthRate เป็น DayRate ให้เอา Annual Rate หารด้วยวันนวนวันในปี ซึ่งที่จริงแล้วทางบัญชีจะให้ 360 วัน ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานจริง ถ้าจะนับวันจริงในปีนั้นๆ ก็เอาจำนวนวันหาร
และแก้ row 4 NumberOfPayment เป็นจำนวนวันที่ส่ง

ซึ่งผมยังไม่เข้าใจรูปแบบธุรกิจที่ถามมาจึงสรุปสูตรให้ไม่ได้
12 @R14765
อาจารย์ TTT ไม่ใช่นอกระบบครับ แต่เป็นระบบสหกรณ์^^
เดี๋ยวทดสอบสูตรอาจารย์ TTT และอาจารย์พิชัยก่อนครับ
13 @R17366
ไม่รู้คล้ายๆ แบบนี้ไหมครับ เผื่อเป็นตัวอย่างวิธีคิดที่ชัดเจนขึ้น
วิธีการคิดดอกเบี้ยเงินกู้ของสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ
สูตร เงินต้นคงเหลือของเดือนก่อน คูณ อัตราดอกเบี้ย คูณ จำนวนวัน (หาร) 365
การคิดจำนวนวัน การนับจำนวนวันเพื่อคิดดอกเบี้ย นับจากวันที่เงินเดือนออกของเดือนก่อนจนถึง
วันที่เงินเดือนออกของเดือนปัจจุบัน
ตัวอย่าง นาย ก. มีหนี้คงเหลือเงินกู้สามัญ เดือน พฤษภาคม 2553 จำนวนเงิน 450,000.00 บาท อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สามัญ 7.5 % ต่อปี เพราะฉะนั้นในเดือนมิถุนายน 2553 นาย ก.จะต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับสหกรณ์ เป็นจำนวนเงินเท่าใด (เงินเดือนออกในเดือน พ.ค.คือวันที่ 26 พ.ค)
ในเดือน มิถุนายน 2553 นาย ก.ได้รับเงินเดือนจากสำนักงานฯ วันที่ 28 มิ.ย. 2553
การคิดจำนวนวันที่เสียดอกเบี้ย 26 พ.ค ถึง 31 พ.ค (31-26 ) = 5 วัน
เงินเดือนออกวันที่ 28 มิ.ย. = 28 วัน
รวมวันคิดดอกเบี้ยทั้งสิ้น = (5 วัน + 28 วัน) 33 วัน     
สูตร      450,000.00 คูณ 7.5 % คูณ 33 วัน หาร 365 วัน
ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในเดือน มิ.ย.     = 3,051.50 บาท
@ ประกาศใช้งานเว็บบอร์ดใหม่ => บอร์ดเรียนรู้ Access สำหรับคนไทย
แล้วจะใส่ลิ้งอ้างอิงมาที่โพสต์เก่านี้หรือไม่ก็ตามสะดวกครับ
Time: 0.2356s