4 เรื่องควรรู้ก่อนยื่นขอ สินเชื่อธุรกิจกับธนาคาร


0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

02 ก.ย. 67 , 22:41:21
อ่าน 12 ครั้ง

waanbotan_

  • สมาชิกไท.Access
  • กระทู้: 1

  • ขอบคุณ ไท.Access

    • ดูรายละเอียด

เป็นที่ทราบกันดีว่า “เงินทุน” มีความสำคัญกับการทำธุรกิจมากเพียงใด ไม่แปลกเลยที่สถาบันการเงินจะออกแบบ สินเชื่อธุรกิจ มาให้เลือกหลากหลายประเภทด้วยกัน ทั้งหมดก็เพื่อรองรับ สนับสนุน และผลักดันภาคธุรกิจของไทยให้สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดกลาง สถาบันการเงินมีนโยบายให้ความสำคัญไม่น้อยไปว่าธุรกิจขนาดใหญ่
ยกตัวอย่าง สินเชื่อธุรกิจ ของธนาคารกรุงไทย ซึ่งประกอบด้วยสินเชื่อธุรกิจขนาดเล็ก สำหรับทุกประเภทธุรกิจ จำนวน 8 สินเชื่อ สินเชื่อธุรกิจขนาดกลาง สำหรับทุกประเภทธุรกิจ จำนวน 5 สินเชื่อ และสินเชื่อธุรกิจขนาดกลาง ตามประเภทธุรกิจ (INDUSTRY) จำนวน 5 สินเชื่อด้วยกัน เห็นได้ชัดว่าสถาบันการเงินพยายามตอบโจทย์ความต้องการให้ครอบคลุมภาคธุรกิจของไทยอย่างเต็มที่ แต่ก่อนที่ธุรกิจจะตัดสินใจยื่น กู้ทำธุรกิจ ก็ควรทำความรู้จักกับ สินเชื่อ SME ให้ดีเสียก่อน เพื่อจะได้เลือกสินเชื่อให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเองมากที่สุด และได้รับสิทธิประโยชน์รวมถึงความคุ้มค่าสูงสุดอย่างที่ควรเป็น

4 เรื่องควรรู้ก่อนยื่นขอสินเชื่อธุรกิจ
จดทะเบียนการค้าก่อนยื่น กู้sme
สถาบันการเงินต้องการปล่อยกู้ให้กับธุรกิจที่มีความน่าเชื่อถือในระดับที่ตนเองรับความเสี่ยงได้ ดังนั้นกิจการขนาดเล็ก ขนาดกลาง รวมถึงร้านค้า ควรจดทะเบียนการค้า เช่น จดทะเบียนพาณิชย์ หรือจดทะเบียนนิติบุคคล ก่อนทำเรื่องยื่น กู้sme หัวข้อนี้สำคัญมากเนื่องจากสถาบันการเงินจะประเมินความน่าเชื่อถือก่อนปล่อยกู้จากการนำกิจการเข้าจดทะเบียนให้เป็นไปตามกฎหมายธุรกิจร่วมด้วย นอกเหนือไปจากการปล่อยกู้ให้กับกิจการซึ่งมีที่ตั้งเป็นหลักแหล่ง ติดตามในยามฉุกเฉินได้ง่าย
เตรียมหลักประกันประกอบการยื่นกู้หากต้องการวงเงินสูง ผ่อนนาน
โดยทั่วไป สินเชื่อ SME จะสามารถขอกู้ได้ทั้งแบบ “ใช้หลักประกัน” และ “สินเชื่อธุรกิจsmeไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน” หากผู้กู้ต้องการวงเงินอนุมัติสูง ดอกเบี้ยต่ำ ระยะเวลาผ่อนชำระยาวนาน ควรยื่นกู้แบบใช้หลักประกัน เช่น เงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงิน หุ้นกู้ หรืออสังหาริมทรัพย์ ในกรณีที่ผู้กู้ไม่มีหลักประกันต้องการยื่นกู้โดยไม่ใช้หลักประกัน หรือแม้กระทั่งต้องการกู้วงเงินไม่สูงก็สามารถเลือกยื่น กู้ทำธุรกิจ แบบไม่ให้หลักประกันได้ อาจมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า ผ่อนชำระเป็นระยะเวลาสั้นกว่า แต่จะได้ความคล่องตัวตามต้องการ
เอกสารที่ต้องเตรียมประกอบการยื่นกู้
โดยหลักแล้วจะประกอบไปด้วยเอกสาร 2 ส่วน ได้แก่ เอกสารในส่วนของกิจการ เช่น หนังสือรับรองบริษัท งบการเงินย้อนหลัง 3 ปี และเอกสารในส่วนของผู้มีอำนาจลงนามในกิจการนั้น ๆ แต่ในรายละเอียด เอกสารยื่นกู้จำเป็นต้องยื่นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สถาบันการเงินนั้น ๆ กำหนด แนะนำให้สอบถามจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของสถาบันการเงินนั้น ๆ โดยตรงเพื่อความถูกต้อง
แสดงให้สถาบันการเงินเห็นว่ากิจการมีความสามารถในการชำระหนี้
ก่อนยื่นกู้ขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจควรทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อแสดงการเดินบัญชีที่น่าเชื่อถือ เช่น บัญชีในส่วนของรายรับมีรายรับเข้ามาเรื่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอ บัญชีในส่วนรายจ่ายไม่มีประวัติค้างชำระหรือผิดนัดชำระหนี้ ในขณะเดียวกันหากวันหนึ่งวันใดมีรายรับเข้ามาก้อนใหญ่ก็ไม่ควรเบิกเงินจากรายการนั้นออกมาทั้งหมดภายในวันเดียว เพราะจะทำให้รายการเดินบัญชีถูกลดความน่าเชื่อถือลง

สำหรับผู้ต้องการกู้สินเชื่อเพื่อธุรกิจนอกจากศึกษาข้อมูลด้วยตนเองผ่านทางสื่อต่าง ๆ แล้ว ควรเข้าไปพบปะพูดคุยปรึกษาโดยตรงกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของแต่ละสถาบันการเงินร่วมด้วย เนื่องจากการเข้าไปพูดคุยมักจะได้ข้อมูลที่อัปเดตหนังสือค้ำประกันธนาคาร กว่า ได้มีโอกาสต่อรองในประเด็นต่าง ๆ ตามต้องการ และยังจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับสินเชื่อแม่ค้าที่เหมาะสมกับธุรกิจของตนเองมากที่สุดอีกด้วย

 


บอร์ดเรียนรู้ Access สำหรับคนไทย



There are no comments for this topic. Do you want to be the first?
 

Sitemap 1 2 3 4 5