สารสกัดจากหญ้าหวาน, สตีเวีย, สตีวิโอไซด์, สตีวิออลไกลโคไซด์, Stevia, Stevioside, Steviol glycosides, Rebaudioside A
สารสกัดจากหญ้าหวาน เป็นสารให้ความหวานจากธรรมชาติ Natural Sweetener
สารสกัดจากหญ้าหวาน เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล Sugar Substitute
สารสกัดจากหญ้าหวาน มีความหวานมากกว่าน้ำตาล 200-400 เท่า
สารสกัดจากหญ้าหวาน ไม่มีแคลอรี ไม่ให้พลังงาน จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจเพื่อสุขภาพสามารถสอบถามข้อมูลสินค้า ขอตัวอย่างสินค้าทดลอง และสั่งซื้อสินค้าได้ที่
บริษัท ไทยโพลีเคมิคอล จำกัด (วัตถุเจือปนอาหาร)
Thai Poly Chemicals Company (Food Additive)Website : www.thaipolychemicals.com
Tel No : 034-854-888
Mobile : 089-312-8888
Line ID : thaipoly8888
Email: [email protected]ข้อมูลผลิตภัณฑ์ สารสกัดจากหญ้าหวาน น้ำตาลสตีเวีย (Stevia Extract)ถึงแม้ว่าจะมีสารทดแทนความหวานที่ไม่ให้พลังงาน เช่น แอสปาร์แตม ซูคราโลส และอื่นๆ จะเป็นทางเลือกที่ถูกนำมาใช้ทดแทนน้ำตาล แต่การที่สารเหล่านี้ผลิตจากการสังเคราะห์ทางเคมี ซึ่งแตกต่างจากหญ้าหวานที่เป็นพืชตามธรรมชาติ สารสกัดจากใบหญ้าหวาน มีชื่อเรียกว่า
สตีวิโอไซด์ (
Stevioside) จึงมีความน่าสนใจมากขึ้น โดยลักษณะของสตีวิโอไซด์ เป็นสารที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล 200-400 เท่า ซึ่งรสหวานของสาร
สตีวิโอไซด์ จะจางหายไปช้ากว่าน้ำตาลทราย แต่จะมีรสหวานติดลิ้นนานกว่า โดยสารที่ว่านี้ จะไม่ถูกย่อยให้เกิดพลังงานในร่างกาย มีแคลอรี่ต่ำมาก จึงมีความปลอดภัยสูง และมีการยอมรับให้ใช้เป็นสารให้ความหวานได้ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 262 พุทธศักราช 2545 โดยปัจจุบันนี้พบว่า สารให้ความหวานที่สกัดจากหญ้าหวาน กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศทั่วโลก
หญ้าหวาน สารให้ความหวานจากธรรมชาติเป็นที่ทราบกันดีว่า หากบริโภคน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินจำเป็น สามารถสะสมทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และนำไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้มากมาย หลายคนจึงเริ่มหันมาสนใจ วัตถุดิบกลุ่มหนึ่งที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลได้ และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ นั่นคือ สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (Artificial sweeteners) ซึ่งสารให้ความหวานแทนน้ำตาลนี้ ก็มีอยู่หลายชนิด แต่ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ก็คือ หญ้าหวาน ที่เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล จากธรรมชาติ และถูกนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารคาว ขนมหวาน และเครื่องดื่มอยู่มากมายในปัจจุบัน
หญ้าหวาน คืออะไรหญ้าหวาน เป็นพืชชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางอเมริกาใต้ สามารถให้ความหวานได้โดยธรรมชาติ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stevia Rebaudiana Bertoni หรือเรียกสั้นๆว่า
Stevia เมื่อนำใบหญ้าหวานแห้งมาสกัด จะได้สารสกัดบริสุทธิ์ ชื่อว่า
สตีวิออลไกลโคไซด์ (Steviol glycosides) ซึ่งมีความคงตัวสูงในตัวทำละลาย กรดอ่อน เบสอ่อน ทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียส และหวานกว่าน้ำตาลทราย 200-400 เท่า โดยที่ไม่มีคาร์โบไฮเดรตและไม่ให้พลังงาน ทั้งนี้สารสกัดจากใบหญ้าหวานที่ได้รับการยอมรับ จากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหารขององค์การอาหารและเกษตร และองค์การอนามัยโลก แห่งสหประชาชาติ (The Joint Food and Agriculture Organization / World Health Organization (WHO) Expert Committee on Food Additives, JECFA) ที่สามารถนำมาใช้ในอาหารและเครื่องดื่มได้ จะต้องมีปริมาณสารในกลุ่ม
สตีวิออลไกลโคไซด์ มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 95 ของน้ำหนักแห้ง ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้นำใบสด ใบอบแห้ง หรือผงสารสกัดจากใบหญ้าหวาน ที่ไม่ได้บอกปริมาณความเข้มข้น มาใช้ทำอาหารและเครื่องดื่ม
หญ้าหวาน ใช้แล้วปลอดภัยไหมอ้างอิงจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหารขององค์การ อาหารและเกษตร และองค์การอนามัยโลก แห่งสหประชาชาติ (JECFA) ได้ประเมินและกำหนดค่าความปลอดภัย (The Acceptable Daily Intake, ADI) ของสารสกัดจากหญ้าหวาน (
Steviol glycosides) ไว้ที่ 4 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน ในรูปของ Steviol Equivalents หมายความว่า หากเราน้ำหนัก 50 กิโลกรัม เราจะสามารถรับสารสกัดจากหญ้าหวานได้ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม/วัน แต่ในผลิตภัณฑ์สารให้ความหวานแทนน้ำตาลตามท้องตลาด มีส่วนผสมของสารสกัดจากหญ้าหวาน(Steviol glycosides) เพียงเล็กน้อยเท่านั้นหรือประมาณ 0.5 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาตรทั้งหมด เนื่องจากสารสกัดนั้นให้ความหวานที่มากกว่า น้ำตาลหลายร้อยเท่า เช่น ในน้ำเก็กฮวยยี่ห้อหนึ่ง มีหญ้าหวานประมาณ 0.03 % ใน 500 ml คิดเป็น 15 mg ต่อกล่อง นั่นหมายความว่า อาจจะต้องกินดื่มน้ำเก็กฮวย มากถึง 13 กล่องต่อวัน จึงจะได้รับหญ้าหวาน เกินปริมาณที่กำหนด ดังนั้นเมื่อนำมาใช้กับอาหารและเครื่องดื่มแทนน้ำตาลเพียงเล็กน้อย ก็ให้ความหวานเทียบเท่ากับน้ำตาลแล้ว ทำให้เราหมดความกังวลเรื่องที่จะได้รับสารสกัดเกินปริมาณที่กำหนด รวมถึงในปี ค.ศ. 2009 คณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USFDA) ได้ออกประกาศว่า หญ้าหวานได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าปลอดภัย (Generally Recognized As Safe, GRAS) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ประกาศให้สารสกัดสติวิออลไกลโคไซด์ เป็นวัตถุเจือปนอาหาร อีกด้วย ส่วนการศึกษาเกี่ยวกับการสะสมของสารสกัดจากหญ้าหวานจนเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งนั้น ก็ยังไม่พบว่า การใช้หญ้าหวานแทนน้ำตาลจะทำให้เกิดมะเร็งได้ แต่อย่างไรก็ตาม การบริโภคสารสกัดจากหญ้าหวาน ก็ยังต้องระวังในคนที่แพ้พืชตระกูลเดียวกับหญ้าหวาน เช่น ดอกเบญจมาศ ดอกดาวเรือง เนื่องจากมีความเสี่ยงอาจแพ้หญ้าหวาน ด้วยเช่นเดียวกัน รวมถึงยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันว่า สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร สามารถกินสารสกัดจากหญ้าหวานได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการบริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลไปก่อน และไปเลือกควบคุมปริมาณอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงแทน