กระทู้เก่าบอร์ด อ.สุภาพ ไชยา
338 6
URL.หัวข้อ /
URL
Access E-Learning?
วันนี้ผมได้รับเกียรติจากผู้อำนวยการสำนักทะเบียน มหาวิทยาลัขอนแก่น ให้ผมได้พูดคุยกับท่านในเรื่องการประเมินผลอาจารย์ประจำวิชา โดยนักศึกษาเรียนวิชานั้นฯ จะเป็นผู้ประเมิน ผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะต้องขอความร่วมมือกับสำนักทะเบียนฯ เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลของการลงวิชาต่างๆ ในแต่ละเทอมการศึกษา และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ชื่อวิชา อาจารย์ผู้สอน ข้อมูลพื้นฐานของนักศึกษา ฯลฯ
และได้มีโอกาสพูดถึง E-Learning ของ ม.ข. ด้วย ซึ่งอยู่ในช่วงศึกษาค้นคว้าว่าจะซื้อสำเร็จรูปมา หรือจะจัดทำขึ้นเอง ซึ่งผมได้คุยกับท่านมาครั้งหนึ่งแล้ว
ปัญหาหรือหัวใจสำคัญของ E-Learning จะอยู่ที่การจัดทำเนื้อหาของวิชาที่จะเปิดสอน ส่วนการทำ template หรือเว็บฯ ในเรื่องการ log in, การลงทะเบียน การวัดผล ไม่ใช่เรื่องใหญ่
E-Learning จะประกอบไปด้วยบุคคล 3 ฝ่าย คือ ผู้ดูแลระบบอินเตอร์ อาจารย์ประจำวิชา และผู้ช่วยอาจารย์ผู้สอน คนที่จะทำงานหนักคือ อาจารย์ผู้สอน และผู้ช่วยฯ ซึ่งจะต้องจัดทำเนื้อหาวิชา บันทึกเสียง เลือกสื่อที่จะใช้นำเสนอ ส่วนผู้ช่วยสอนฯ จะมีหน้าที่ในการผลิตระบบมัลติมีเดียที่ใช้ในอินเตอร์ การดูแลการส่งงานด้วย email และบริหารจัดการ webboard ของแต่ละวิชา ซึ่งเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอจะต้องน่าสนใจ และเป็นที่ต้องการของตลาด และจะต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
คราวนี้ก็มาถึงการเลือกวิชาที่จะประเดิม E-Learning ของ ม.ข. ผมได้แนะนำท่าน ผอ. ว่าจะต้องเป็นวิชาที่ผู้สมัครเรียนสามารถจะได้ใบประกาศนียบัตรทันทีที่เรียนจบและผ่านเกณฑ์การทดสอบวิชานั้น ช่วงแรกๆ จึงไม่ควรจะเป็นวิชาที่เปิดเป็นหลักสูตรเต็ม คือจะต้องเรียนให้ครบทุกวิชาจึงจะได้ใบประกาศ
ผมได้เสนอวิชาที่ควรจะเปิดสอนแบบ E-Learning หลักสูตรโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น การเขียนโฮมเพจด้วยภาษาต่างๆ การประกอบเครื่องคอมฯ เมื่อเรียนจบแต่ละวิชา ก็รับใบประกาศได้เลย
ผมเลยมาคิดถึงการเรียน การเขียนโปรแกรมด้วย Access ขั้นต่างๆ เช่น ขั้นเบื้องต้น ขั้นปานกลาง และขั้นสูง โดยผู้เรียนจะต้องลงทะเบียนเรียนทางอินเตอร์เน็ต มีการทดสอบหลังเรียนแต่ละบท และมีการมอบหมายงานให้ทำแล้วส่งงานทาง email จึงต้องมีค่าใช้จ่ายด้วยพอสมควร และเมื่อจบหลักสูตรจะได้ใบประกาศนียบัตรจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้วย
สิ่งที่จะต้องใช้เวลามาก คือ การนำเสนอบทเรียนแต่ละบท ด้วยระบบมัลติมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Flash, Lotus ScreenCam, PowerPoint , RealPlayer, etc. ซึ่งจะต้องดูถึงความสะดวกของผู้เรียนด้วย ในด้านความเร็วของ internet ที่จะใช้ต่อเข้ามาเรียน ถ้ามีภาพเคลื่อนไหวมาก จะทำให้การส่งข้อมูลกระตุก หรือไม่ต่อเนื่อง แต่ถ้าไม่มีเลยก็จะไม่น่าสนใจ
ไม่ทราบว่าแฟนพันธุ์แท้ของ Access ที่นี่คิดอย่างไรบ้าง ให้คำแนะนำมาได้นะครับ
หลายท่านอาจจะถามว่า แล้วโครงการผลิตหนังสือที่เคยสัญญาไว้แล้วหล่ะ ไม่ทำแล้วหรือ
ทำครับ แต่อาจจะแปลงเป็นรูป E-document ในรูปแบบของ PDF หรือ HTML แล้วให้ผู้ที่เข้ามาลงทะเบียนเรียนแบบ E-Learning ดาวน์โหลดไปใช้ประกอบการเรียนได้
และได้มีโอกาสพูดถึง E-Learning ของ ม.ข. ด้วย ซึ่งอยู่ในช่วงศึกษาค้นคว้าว่าจะซื้อสำเร็จรูปมา หรือจะจัดทำขึ้นเอง ซึ่งผมได้คุยกับท่านมาครั้งหนึ่งแล้ว
ปัญหาหรือหัวใจสำคัญของ E-Learning จะอยู่ที่การจัดทำเนื้อหาของวิชาที่จะเปิดสอน ส่วนการทำ template หรือเว็บฯ ในเรื่องการ log in, การลงทะเบียน การวัดผล ไม่ใช่เรื่องใหญ่
E-Learning จะประกอบไปด้วยบุคคล 3 ฝ่าย คือ ผู้ดูแลระบบอินเตอร์ อาจารย์ประจำวิชา และผู้ช่วยอาจารย์ผู้สอน คนที่จะทำงานหนักคือ อาจารย์ผู้สอน และผู้ช่วยฯ ซึ่งจะต้องจัดทำเนื้อหาวิชา บันทึกเสียง เลือกสื่อที่จะใช้นำเสนอ ส่วนผู้ช่วยสอนฯ จะมีหน้าที่ในการผลิตระบบมัลติมีเดียที่ใช้ในอินเตอร์ การดูแลการส่งงานด้วย email และบริหารจัดการ webboard ของแต่ละวิชา ซึ่งเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอจะต้องน่าสนใจ และเป็นที่ต้องการของตลาด และจะต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
คราวนี้ก็มาถึงการเลือกวิชาที่จะประเดิม E-Learning ของ ม.ข. ผมได้แนะนำท่าน ผอ. ว่าจะต้องเป็นวิชาที่ผู้สมัครเรียนสามารถจะได้ใบประกาศนียบัตรทันทีที่เรียนจบและผ่านเกณฑ์การทดสอบวิชานั้น ช่วงแรกๆ จึงไม่ควรจะเป็นวิชาที่เปิดเป็นหลักสูตรเต็ม คือจะต้องเรียนให้ครบทุกวิชาจึงจะได้ใบประกาศ
ผมได้เสนอวิชาที่ควรจะเปิดสอนแบบ E-Learning หลักสูตรโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น การเขียนโฮมเพจด้วยภาษาต่างๆ การประกอบเครื่องคอมฯ เมื่อเรียนจบแต่ละวิชา ก็รับใบประกาศได้เลย
ผมเลยมาคิดถึงการเรียน การเขียนโปรแกรมด้วย Access ขั้นต่างๆ เช่น ขั้นเบื้องต้น ขั้นปานกลาง และขั้นสูง โดยผู้เรียนจะต้องลงทะเบียนเรียนทางอินเตอร์เน็ต มีการทดสอบหลังเรียนแต่ละบท และมีการมอบหมายงานให้ทำแล้วส่งงานทาง email จึงต้องมีค่าใช้จ่ายด้วยพอสมควร และเมื่อจบหลักสูตรจะได้ใบประกาศนียบัตรจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้วย
สิ่งที่จะต้องใช้เวลามาก คือ การนำเสนอบทเรียนแต่ละบท ด้วยระบบมัลติมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Flash, Lotus ScreenCam, PowerPoint , RealPlayer, etc. ซึ่งจะต้องดูถึงความสะดวกของผู้เรียนด้วย ในด้านความเร็วของ internet ที่จะใช้ต่อเข้ามาเรียน ถ้ามีภาพเคลื่อนไหวมาก จะทำให้การส่งข้อมูลกระตุก หรือไม่ต่อเนื่อง แต่ถ้าไม่มีเลยก็จะไม่น่าสนใจ
ไม่ทราบว่าแฟนพันธุ์แท้ของ Access ที่นี่คิดอย่างไรบ้าง ให้คำแนะนำมาได้นะครับ
หลายท่านอาจจะถามว่า แล้วโครงการผลิตหนังสือที่เคยสัญญาไว้แล้วหล่ะ ไม่ทำแล้วหรือ
ทำครับ แต่อาจจะแปลงเป็นรูป E-document ในรูปแบบของ PDF หรือ HTML แล้วให้ผู้ที่เข้ามาลงทะเบียนเรียนแบบ E-Learning ดาวน์โหลดไปใช้ประกอบการเรียนได้
6 Reply in this Topic. Dispaly 1 pages and you are on page number 1
1 @R00265
น่าสนใจครับ หากมีความคืบหน้ากรุณาแจ้งให้ทราบด้วยครับ
2 @R00266
น่าสนใจครับ สำหรับการเขียนโปรแกรมด้วย Access หรือ Program อื่นๆ
ควรแบ่งเป็นขั้นต่างๆ เช่น ขั้นเบื้องต้น ขั้นปานกลาง และขั้นสูง ตามที่ อ.สุภาพ คิดไว้
เพื่อจะได้เลือกระดับการเรียนได้ และควรวัดระดับ นศ. หรือผู้เรียนว่าอยู่ในระดับใด
เพื่อให้เรียนได้ถูก และตรง แล้วสามารถเอาไปใช้งานได้ ครับ
สนใจครับ ตอนนี้ก็รอหนังสือจาก อ.สุภาพ อยู่ครับ
ด้วยความเคารพ และนับถืออย่างสูง
Suchat
ชลบุรี
3 @R00267
น่าสนใจมากเลยครับไม่ทราบว่าจะเริ่มเมื่อไรครับ
4 @R00279
เห็นด้วยครับ และสนับสนุนข้อความคุณ Suchart ด้วยครับ
5 @R00281
ขอร่วมด้วยคนนะครับ
6 @R00282
เห็นด้วยค่ะ
การเรียนที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง
เป็นเรื่องที่น่าสนับสุนอย่างยิ่ง
เห็นการเรียนสมัยนี้ ส่วนใหญ่เพื่อต้องการกระดาษแผ่นเดียว
ให้ปฏิบัติงานจริง ไม่เป็นท่าเอาซะเลย
เด็กยุคมือถือ มันถือทั้งวันจริงๆ
เอาเป็นว่าเห็นด้วยค่ะ
Time: 0.1224s