กระทู้เก่าบอร์ด อ.Yeadram
1,364 3
URL.หัวข้อ /
URL
Double VS Varient กับทศนิยม
ค่าทศนิยมที่ได้จากการใช้ ตัวแปรทั้งสอง ต่างกันไหมครับ เช่น ถ้า Sum แต่ละ Record ต่อเนื่อง(ที่เป็นตัวเลข) สัก 1000 Record ทศนิยมตำแหน่งที่ 2 หรือ 3 หรือ 4 จะต่างกันไหมครับ ผมทดสอบเองก็ว่าไม่ต่าง แต่ก็ไม่ค่อยเคลียเท่าไรครับ
3 Reply in this Topic. Dispaly 1 pages and you are on page number 1
1 @R06407
ถ้าข้อมูลมีทศนิยมที่แน่นอน ห้ามใช้ data type Single หรือ Double เพื่อเก็บข้อมูลนั้นเด็ดขาด เพราะอาจได้ผลลัพธ์ที่มีการปัดทศนิยมได้ ผลจากการบวก/ลบอาจไม่เห็นปัญหา แต่ถ้าเจอคูณ/หารต้องเจอปัญหาแน่ๆ ให้ใช้ Variant แทน
2 @R06409
กระจ่างพอสมควรครับ เรื่องละเอียดเหล่านี้มันขึ้นอยู่กับประสบการณ์หรือเปล่าครับ เพราะผมกลับไปอ่านหนังสือ เรื่องคำนิยามตัวแปรแต่ละตัว บางครั้งก็งง
เอ๊ะทำไม ตัวเลขอย่างเดียวมันแบ่งเป็นหลายประเภทจัง หยิบมาใช้ ก็คิดแต่เรื่องประหยัดเนื้อที่หน่วยความจำ จนมาเจอเรื่องการเงิน มันค่อนข้างละเอียดในการบวกลบตัวเลข ก็เลยมีคำถามขึ้นมา ขอบคุณครับ
เอ๊ะทำไม ตัวเลขอย่างเดียวมันแบ่งเป็นหลายประเภทจัง หยิบมาใช้ ก็คิดแต่เรื่องประหยัดเนื้อที่หน่วยความจำ จนมาเจอเรื่องการเงิน มันค่อนข้างละเอียดในการบวกลบตัวเลข ก็เลยมีคำถามขึ้นมา ขอบคุณครับ
3 @R06411
Single และ Double ให้ใช้สำหรับข้อมูลตัวเลขที่เราใช้ในงานที่มีรูปแบบ A x 10 ยกกำลัง B ครับ เพราะมันจะเก็บในรูปแบบนี้ในหน่วยความจำจริงๆ ซึ่งหมายความว่าเราให้ความสนใจกับ B มากกว่ารายละเอียดทศนิยมของ A มันไม่ใช่เป็นค่าที่เป็นประเภท Exactly (เป็นค่านั้นเปี๊ยะๆ) แต่มันเป็นค่า "ประมาณ" เสียมากกว่า เช่น จำนวนโมเลกุลในสาร A เป็นต้น
เวลาที่เราเขียนโปรแกรมไม่ว่าจะภาษาอะไร หรือฐานข้อมูลอะไร เราต้องศึกษาถึง data type แต่ละประเภทให้ดีครับ เพราะแต่ละประเภทก็เหมาะกับข้อมูลแตกต่างกันไปครับ หรือแม้แต่คำๆเดียวกัน เช่น Integer แม้ว่าจะเป็นจำนวนเต็ม แต่พอไปอีกภาษา มันอาจเก็บได้เฉพาะค่าบวก หรือเก็บจำนวนได้มากกว่าหรือน้อยกว่าภาษาที่เราใช้อยู่ก็ได้ ห้ามวางใจเด็ดขาด
เวลาที่เราเขียนโปรแกรมไม่ว่าจะภาษาอะไร หรือฐานข้อมูลอะไร เราต้องศึกษาถึง data type แต่ละประเภทให้ดีครับ เพราะแต่ละประเภทก็เหมาะกับข้อมูลแตกต่างกันไปครับ หรือแม้แต่คำๆเดียวกัน เช่น Integer แม้ว่าจะเป็นจำนวนเต็ม แต่พอไปอีกภาษา มันอาจเก็บได้เฉพาะค่าบวก หรือเก็บจำนวนได้มากกว่าหรือน้อยกว่าภาษาที่เราใช้อยู่ก็ได้ ห้ามวางใจเด็ดขาด
Time: 0.3224s